RSU Library Green Office
เกณฑ์การประเมิน | หลักฐานการดำเนินการ | |
หมวดที่ ๑ การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง | ||
๑.๑ การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม | มีนโยบายสิ่งแวดล้อม | |
๑.๑.๑ มีการกำหนดบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน ๑. มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของสำนักงาน ๒. มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของสำนักงาน |
๑.บริบทและขอบเขตการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต |
|
๑.๑.๒ มีการกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและครอบคลุม ประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียวโดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ ๑. การปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ๒. การควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ/ พลังงาน และมลพิษ/ของเสีย รวมไปถึงการจัดซื้อ จัดจ้าง และบริการที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ๓. การปฏิบัติตามกฎหมายและเกณฑ์การเป็นสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อม ๔. การสร้างความรู้และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้อง |
๒.ประกาศสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิตเรื่องนโยบาย สิ่งแวดล้อม ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ |
|
๑.๑.๓ การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง ๑. นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้ รับมอบอำนาจ ๒. มีการระบุวันที่การประกาศใช้นโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน ๓. ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์ และจุดมุ่งหมายด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน ๔. ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วนในการติดตามผลการปฏิบัติ ตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของสำนักงานbr> | ๓.รายงานการประชุมคณะ กรรมการอำนวยการสำนักงานสีเขียว และห้อง สมุดสีเขียว ประจำปี ๒๕๖๑ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๒ |
|
๑.๑.๔ มีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี ๑. รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการดำเนินงานครบถ้วนทุกหมวด ๒. มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินการของแต่ละหมวด ๓. มีการกำหนดแผนดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับการ อนุมัติจากผู้บริหาร< |
๔.แผนการดำเนินงานสำนัก งานสีเขียวประจำปี 2562 | |
๑.๑.๕ มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดังนี้ ๑. การใช้ไฟฟ้า ๒. การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ๓. การใช้น้ำ ๔. การใช้กระดาษ ๕. ปริมาณของเสีย ๖. การใช้ทรัพยากรอื่น ๆ (หมึกพิมพ์ วัสดุ/อุปกรณ์สำนักงาน) ๗. ปริมาณก๊าซเรือนกระจก |
๕.ประกาศสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยรังสิต เรื่องเป้าหมาย การจัดการพลังงานและการใช้ทรัพยากรสำหรับปี พ.ศ. ๒๕๖๒ |
|
๑. ๒ คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม | ||
๑.๒.๑ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้ ๑.ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมของ สำนักงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติ โดยคณะกรรมการ หรือทีมงานจะต้องครอบคลุมทุกหมวด และบุคลากร/ผู้แทนจากทุกฝ่าย ในหน่วยงาน ๒.กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างชัดเจน |
๖.คำสั่งสำนักหอสมุด ที่ สหส.๖๒๒/๒๕๒๖ เรื่อง แต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต |
|
๑.๒.๒ ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจ ในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบประเมินจากการสุ่มสอบถามดังนี้ ๑ ประธาน/หัวหน้าbr> ๒ คณะกรรมการหรือทีมงานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบทุกหมวด (สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจประเมินแต่ละหมวดสุ่มสอบถามได้) |
||
๑.๓ การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม | ||
๑.๓.๑ กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงานภายใต้ขอบเขตการขอการรับรอง สำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม ๑.มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานครบถ้วน ๒.มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเหมาะสมและมีความเข้าใจ ๓.ระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมจะต้องครบถ้วน ๔. ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรงและทางอ้อมครบถ้วน ๕.ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ ผิดปกติ และฉุกเฉินครบถ้วน ๖..มีการพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหา สิ่งแวดล้อมนั้นๆอย่างครบถ้วนและถูกต้องbr> ๗.การประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมbr> ๘.มีหลักฐานการกำหนดระยะเวลาในการทบทวนการระบุประเด็น ปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและพลังงาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ๙.กรณีมีการปรับแผน/กิจกรรม หรือมีกิจกรรมเพิ่มเติม (เช่น มีแผนที่จะก่อสร้างอาคาร หรือเพิ่มเติมกิจกรรมของส ำนักงานในอนาคตอันใกล้ เป็นต้น) จะต้องระบุกิจกรรม ดังกล่าวด้วย (ถ้ามี) |
๗.การระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมฯ ๗.๑ ตารางวิเคราะห์กระบวนการทำงาน ประจำปี ๒๕๖๒ แบบฟอร์ม ๑.๓ (๑) ๗.๒ ทะเบียนระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ แบบฟอร์ม ๑.๓ (๒) ๗.๓ ทะเบียนระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ แบบฟอร์ม ๑.๓ (๓) ๗.๔ ทะเบียนจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ แบบฟอร์ม ๑.๓ (๔) |
|
๑.๓.๒ การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ ๑.มีสรุปรายการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ ๒.กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหา สิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ ๓.ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการแก้ไขครบถ้วน ๔.กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหา สิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉิน ๕.ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉิน มีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการป้องกันครบถ้วน |
๘. แนวทางการแก้ไขปัญหาจากการวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อม สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต |
|
๑.๔ กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง | ||
๑.๔.๑ มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง กับสำนักงาน โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้ ๑. ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้อง ๒. จัดทำรายการกฎหมายที่ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบท ของสำนักงาน ๓. สามารถระบุแหล่งที่มาของกฎหมายและข้อกำหนดข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้br> ๔. สามารถระบุความเกี่ยวข้องของกฎหมายกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ ๕. มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมายอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ****หมายเหตุ สำนักงานจะต้องค้นหากฎหมายท้องถิ่นเพิ่มเติม |
๙. ทะเบียนกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม แบบฟอร์ม ๑.๔ (๑) ๑๐. ทะเบียนกฎหมายแลข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม(เพิ่มเติม) แบบฟอร์ม ๑.๔ (๑) ๑๑. ลิงก์กฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม ๑๒. ที่มาของกฎหมายและข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม |
|
๑.๔.๒ ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงาน การจัดการสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน โดยมีการดำเนินการดังนี้ ๑. ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการประเมินความสอดคล้อง ของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อม ๒. มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายครบถ้วน ๓. มีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วน และถูกต้อง ****กรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับกฎหมาย จะต้องมีการวิเคราะห์ สาเหตุ และกำหนดแนวทางการแก้ไข (ถ้ามี) ๔. มีการกำหนดความถี่ในการประเมินความสอดคล้องของ กฎหมายอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ที่เหมาะสมและมีการปฏิบัติตาม ที่กำหนดได้ |
๑๓. รายงานการประเมินความสอดคล้อง ของกฎหมายกับการจัดการสิ่งแวดล้อม สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ. ๒๕๖๒ |
|
๑.๕ ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก | ||
๑.๕.๑ การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในสำนักงาน จะต้องประกอบไปด้วย ๑. ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ๒. ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงสำหรับการเดินทาง ๓. ปริมาณการใช้น้ำประปา ๔. ปริมาณการใช้กระดาษ ๕. ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ) (โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก(Emission factor ; Ef) ขององค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกล่าสุด) |
๑๔.คำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจก ๑๕.เปรียบเทียบปริมาณก๊าซเรือนกระจก สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๑ |
|
๑.๕.๒ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมาย
กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย ๑. มีการวิเคราะห์สาเหตุในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย ๒. มีแนวทางการแก้ไขในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย ๓. มีการติดตามผลหลังแก้ไข |
||
๑.๕.๓ ร้อยละของพนักงานมีความเข้าใจและการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน โดยจะต้องสอบถามดังนี้ ๑. ความสำคัญของก๊าซเรือนกระจกกับการทำสำนักงานสีเขียว ๒. แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ๓. ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย |
||
๑.๖ แผนงานโครงการที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง | ||
๑.๖.๑ การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการดำเนินการดังนี้ ๑.วัตถุประสงค์ เป้าหมาย จะต้องสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ หรือกฎหมายสิ่งแวดล้อม ๒.วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สามารถวัดผลได้ ๓. กิจกรรมที่กำหนดในโครงการสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้อง กับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ๔. ระยะเวลาการทำโครงการมีความเหมาะสม ๕. โครงการมีการกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และจะต้องมีความเข้าใจ |
๑๖.โครงการสำนักงานสีเขียว ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ๑๗.แผนงานโครงการและกิจกรรม |
|
๑.๖.๒ ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ๑. มีแผนการดำเนินโครงการที่ชัดเจน ๓. มีการกำหนดความถี่ในการติดตามผลและปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง๒. ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง  ๔. มีการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ๔. มีการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ๕. ดำเนินการเสร็จสิ้นและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด / กรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย มีการทบทวนเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข ๖. มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนหลังบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด |
๑๘.สรุปผลการดำเนินงานฯ | |
๑.๗ การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานที่ขอต่ออายุ) | ||
๑.๗.๑ การวางแผนและดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน ๑. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน ประกอบด้วยหัวหน้าผู้ตรวจประเมินและผู้ตรวจประเมิน ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกอบรม หลักสูตรการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว และหลักสูตรการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว ๒. มีการกำหนดความถี่ในการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงานอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ๓. มีการจัดทำกำหนดการตรวจประเมินภายในครอบคลุมทุกหมวด ๔. กำหนดผู้ตรวจประเมินภายในแต่ละหมวดมีความเพียงพอและเหมาะสม มีความเป็นอิสระในการตรวจประเมินอย่างชัดเจน |
||
๑.๘ การทบทวนฝ่ายบริหาร | ||
๑.๘.๑ การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร ๑. มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม ๒. ตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้อง กับการดำเนินงานในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม ๓. จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้องมากกว่าร้อยละ ๗๕ ของจำนวนผู้ที่เป็นคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วมประชุม ๔. หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถเข้าร่วมได้ จะต้อง มีวิธีการรายงานผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับข้อเสนอแนะ |
๑๔ หมวด ๑ ข้อ ๑.๘.๑ รายงาน การประชุมคณะ กรรมการบริหาร สำนักหอสมุด ครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๒ |
|
๑.๘.๒ มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุม ทบทวนฝ่ายบริหารดังนี้ ๑. มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ๒. วาระที่ ๑ การติดตามผลการดำเนินงานปรับปรุงระบบฯที่ผ่านมา ๓. วาระที่ ๒ นโยบายสิ่งแวดล้อม ๔. วาระที่ ๓ ความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการหรือทีมงาน ด้านสิ่งแวดล้อม (ความเพียงพอและความเหมาะสม) ๕. วาระที่ ๔ การติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุง และพัฒนา ๖. การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม ๗. การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จ ในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ๘. ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม ๙. วิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหารของการดำเนินงานสำนักงาน สีเขียวอย่างต่อเนื่อง ๑๐. จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร และภาพถ่าย ที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง |