หมวดที่ ๒ การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก



        สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต ดำเนินการสื่อสารด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยการประชาสัมพันธ์ ชี้แจงข่าวสารทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจ การรับรู้ข่าวสารด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน และเป็นช่องทางรับเรื่องร้องเรียนหรือข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อม
        นอกจากนี้สำนักหอสมุด ได้จัดกิจกรรมการฝึกอบรมด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาบุคลากรให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และมีความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านการใช้ทรัพยากรและพลังงาน การจัดการขยะ การจัดการน้ำเสีย การป้องกันและเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น

หมวด / ตัวชี้วัด หลักฐานประกอบ
๒.๑ การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ
๒.๑.๑ กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล
และบันทึกประวัติการฝึกอบรม
          ๑. ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรมลงในแผนการฝึกอบรม
โดยหลักสูตรมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้

           - ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว

          - การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

          - การจัดการมลพิษและของเสีย

           - การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

           - ก๊าซเรือนกระจก

          ๒. ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมในข้อ (๑) โดยผู้รับการอบรมจะต้องมากกว่า
ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร

          ๓. ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น ข้อสอบ ประเมินขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น

           ๔. จัดทำประวัติการอบรมของพนักงาน
  ๑ แผนการฝึกอบรมสำนักงานสีเขียวและพัฒนาบุคลากร สำนักหอสมุด
มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ แบบฟอร์ม ๒.๑(๑)


  ๒ โครงการพัฒนาความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม

  ๓ กิจกรรมการบรรยายเรื่อง การพัฒนาสำนักงานสีเขียว (Green Office)
ตามเกณฑ์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ ๑


  ๔ กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้เรื่อง การป้องกันอัคคีภัย
และการอพยพหนีไฟ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑


  ๕ กิจกรรมการบรรยายเรื่อง การพัฒนาสำนักงานสีเขียว (Green Office)
ตามเกณฑ์ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ ๒


  ๖ ผลการประเมินการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

  ๗ ประวัติการเข้าร่วมอบรมความรู้เกี่ยวกับสำนักงานสีเขียวของ
บุคลากรสำนักหอสมุด แบบฟอร์ม ๒.๑(๒)


  ๘ ประวัติการเข้าร่วมอบรมความรู้เกี่ยวกับสำนักงานสีเขียว
รายบุคคล แบบฟอร์ม ๒.๑(๓)
๒.๑.๒ กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการอบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม
          ๑. ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องเข้าใจเนื้อหาในการอบรม

          ๒. ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมีหลักฐานแสดงความสามารถ เช่น ใบรับรองจาก
หน่วยงานภายนอก ประวัติ ประสบการณ์
  ๙ ประวัติผู้ให้การอบรม
๒.๒ การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่พนักงาน  
๒.๒.๑ มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม
ทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน
๑. กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้

          ๑. นโยบายสิ่งแวดล้อม

          ๒. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการ

          ๓. การปฏิบัติตามกฎหมาย

          ๔. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (7ส.)

          ๕. เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่ น้ำ ไฟฟ้า
น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ)

          ๖. เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสีย

          ๗. ผลการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย

          ๘.สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

          ๙. ก๊าซเรือนกระจก

๒. กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร
(ไม่จำกัดจำนวนช่องทาง)

๓. กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร (ผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน)

๔. กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร

  ๑๐ ผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร

  ๑๑ หัวข้อและความถี่การสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน

  ๑๒ ช่องทางการสื่อสาร

๒.๒.๒ มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามที่กำหนดในข้อ ๒.๒.๑  
๒.๒.๓ ร้อยละความเข้าใจนโยบายสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว
(สุ่มอย่างน้อย ๔ คน) โดยจะต้องสอบถามพนักงานแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ ๒.๒.๑(๑)
 
๒.๒.๔ มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ และนำข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ
มาปรับปรุงแก้ไขมีแนวทางดังนี้
          ๑. มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ เช่น ไลน์ QR Code การประชุม เว็บไซต์

          ๒. มีผู้รับผิดชอบ

          ๓. มีการวางแผนการจัดการข้อเสนอแนะ

          ๔. มีการจัดการกับข้อเสนอแนะตามแผนที่กำหนด

          ๕. มีการรายงานข้อเสนอแนะและการจัดการแก่ผู้บริหาร (บรรยายให้เหมาะสม)

  ๑๓ ช่องทางรับข้อเสนอแนะ แบบฟอร์ม ๒.๒(๒)