หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย



         สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต มีการจัดการของเสีย ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน และกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย บุคลากร และผู้ใช้ โดยสำนักหอสมุดเลือกใช้วิธีการจัดการขยะที่เหมาะสม ได้แต่ การลดปริมาณของเสียจากแหล่งกำเนิด การคัดแยกขยะ และการทำกลับมาใช้ซ้ำ และแปรรูปใหม่ โดยใช้หลัก 3R ได้แก่ การลดการใช้ หรือใช้เท่าที่จำเป็น (Reduce) การใช้ช้ำ (Reuse) การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลากรให้ตระหนักถึงการลดการก่อให้เกิดของเสีย และคัดแยกก่อนทิ้ง รวมถึงการส่งกำจัดอย่างถูกต้องเหมาะสม ในส่วนของการแนวทางการจัดการน้ำเสีย ได้แก่ การติดตั้งถังดักไขมัน การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมาตรการ การรณรงค์การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และดูแลตรวจสอบการรั่วซึมของระบบระบายน้ำเสียอย่างต่อเนื่อง

หมวด / ตัวชี้วัด หลักฐานประกอบ
๔.๑ การจัดการของเสีย
๔.๑.๑ มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม และกำจัดขยะอย่างเหมาะสม
มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้           ๑.มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงาน
และจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆอย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ

          ๒.มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ

          ๓.มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่
รองรับขยะแต่ละเภทจากข้อ (1) อย่างเพียงพอ

          ๔.มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ

๕. มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทครบถ้วนทุกเดือนจนถึงเดือน
ที่ได้รับการตรวจประเมิน

          ๖. มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย

          ๗. มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ
(กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม)

          ๘. ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง)
  ๑. มาตรการการคัดแยกขยะ

  ๒. ป้ายบ่งชี้ประเภทขยะ

  ๓. แผนผังการวางจุดทิ้งขยะ และจุดพักขยะ

  ๔. เส้นทางการจัดการของเสีย

  ๕. บันทึกปริมาณขยะ ปี 2561-2562

  ๖. หลักฐานสัญญาจ้าง “ผู้รับจ้าง” ขนย้ายขยะและสิ่งปฏิกูล

๔.๑.๒ ร้อยละของปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่
หมายเหตุ ร้อยละของปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ = (ปริมาณขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ x
๑๐๐)/ปริมาณขยะสะสมที่เกิดขึ้นทั้งหมด
  ๗. สรุปปริมาณขยะ และการนำกลับมาใช้ใหม่
๔.๒ การจัดการน้ำเสีย  
๔.๒.๑ การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้งจะต้องอยู่ในมาตรฐาน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยมีแนวทาง ดังนี้
          ๑. การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล

          ๒. มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีการมีตะแกรงดัก
เศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน

          ๓. มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย

          ๔. มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
(หากมีพื้นที่ของอาคารน้อยกว่า ๕,๐๐๐ ตร.ม.จะไม่มีกฎหมายกำหนด)

  ๘. ผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำ มหาวิทยาลัยรังสิต

  ๙. จุดติดตั้งถังดักไขมัน

  ๑๐. ระบบบำบัดน้ำเสียของมหาวิทยาลัยรังสิต

  ๑๑. แบบบันทึกรายละเอียดของสถิติและข้อมูลซึ่งแสดงผลการทำงาน
ของระบบบำบัดน้ำเสีย (แบบ ทส.๑)


๔.๒.๒ การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทางดังนี้
          ๑. มีการตักและทำความสะอาดเศษอาหาร และไขมันออกจากตะแกรงดักขยะ
หรือบ่อดักไขมันตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน

          ๒. มีการนำเศษอาหาร น้ำมันและไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง

          ๓. มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

          ๔. มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ

  ๑๒. การดูแลถังดักไขมัน

  ๑๓. การตรวจสอบบำรุงรักษาอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย