RSU Library Green Office
หมวด / ตัวชี้วัด | หลักฐานประกอบ | |
หมวดที่ ๖ การจัดซื้อและจัดจ้าง | ||
๖.๑ การจัดซื้อสินค้า ๖.๑.๑ การจัดซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ๑. กำหนดผู้รับผิดชอบ และมีความเข้าใจ ๒. ค้นหารายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถระบุแหล่งข้อมูลสืบค้นได้ ๓. จัดทำบัญชีรายชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสินค้าที่ใช้จริง ในสำนักงาน โดยจะต้องระบุรายการสินค้า ยี่ห้อ ฉลากสิ่งแวดล้อม วันหมดอายุการรับรอง ของสินค้านั้น หากเป็นฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศจะต้องอ้างอิงหน่วยงาน/ประเทศ ให้การรับรองนั้นๆด้วย ๔. แจ้งไปยังผู้ขายเพื่อขอความร่วมมือในการสั่งซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรณีที่ไม่มีร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าทีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายเหตุ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการรับรอง จากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับเท่านั้น เช่น ฉลากเขียว ฉลากตะกร้าเขียว ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ เป็นต้น |
๑.รายชื่อผู้รับผิดชอบ ๒.เว็บไซต์ค้นหารายการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม http://gp.pcd.go.th/ ๓.ตราสัญญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ๔.รายละเอียดผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียว ประจำเดือน พฤษภาคม 2562 ๕.บัญชีชื่อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
|
๖.๑.๒ ร้อยละของการจัดซื้อสินค้าประเภทวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม จำนวนทั้งสิ้น ๙ รายการ อ้างอิงจากแผนส่งเสริมการจัดซื้อที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมระยะที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๖๐ -๒๕๖๔ รวมทั้งสิ้น ๙ รายการ (ขั้นต่ำ) ดังนี้ ๑. กระดาษถ่ายเอกสารหรืองานพิมพ์ทั่วไป ๒. แฟ้มเอกสาร ๓. ซองเอกสาร ๔. ผลิตภัณฑ์ลบคำผิด ๕. ตลับหมึก ๖. เครื่องพิมพ์ ๗. เครื่องถ่ายเอกสาร ๘. ปากกาไวท์บอร์ด ๙. กระดาษชำระ หมายเหตุ ร้อยละของสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะเทียบกับปริมาณการซื้อ และ/หรือมูลค่าสินค้า |
๖.ประเภทวัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ๗.แบบรายงานผลการจัดซื้อรายการจัดซื้อสินค้าในช่วงเดือน มกราคม ถึงเดือน พฤษภาคม 2562 ๘.แบบรายงานผลการจัดซื้อรายการจัดซื้อสินค้าในช่วงเดือน มกราคม ถึงเดือน ธันวาคม 2561 |
|
๖.๑.๓ ร้อยละของปริมาณและประเภทของวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมหมายเหตุ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสินค้าที่ได้รับการ รับรองจากสถาบันที่เป็นที่ยอมรับเท่านั้น เช่น ฉลากเขียว ฉลากตะกร้าเขียว ฉลากคาร์บอนฟุตปริ้นท์ สินค้า OTOP ที่มีเลขจดทะเบียน ฉลากสิ่งแวดล้อม ของต่างประเทศ เป็นต้น |
||
๖.๒ การจัดจ้าง | ||
๖.๒.๑ ร้อยละของการจัดจ้างหน่วยงานหรือบุคคลที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ๑. มีหลักฐานการพิจารณาถึงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่ได้การรับรอง โดยจะต้องแสดงหลักฐานการรับรองดังกล่าว ๒. หากหน่วยงานไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรอง ทางสำนักงานจะต้องทำการ ประเมินด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยเบื้องต้น ๓. มีการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงาน ๔. หน่วยงานหรือบุคคลที่ได้รับคัดเลือกจะต้องได้รับการอบรมหรือสื่อสารเกี่ยวกับ สำนักงานสีเขียว และแนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของตนเอง ๕. หน่วยงานหรือบุคคลเหล่านั้นสามารถอธิบายแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยว ข้องกับกิจกรรมของตนเองได้ หมายเหตุ (๑) หากหน่วยงานภายนอกมีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรองจะต้องพิจารณาทุกข้อ ยกเว้นข้อ (๒) (๒) หากหน่วยงานภายนอกไม่มีมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมรับรองพิจารณาข้อ (๒)-(๕) |
๙.รายชื่อแม่บ้านมหาวิทยาลัยที่ทำความสะอาดในสำนักหอสมุด จำนวน 6 คน ๑๐.แนวปฏิบัติและข้อปฏิบัติสำหรับบริการถ่ายเอกสารของศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยรังสิต |
|
๖.๒.๒ ร้อยละของการตรวจสอบด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ปฏิบัติงาน ของหน่วยงานหรือบุคคลที่เข้ามาดำเนินการ เช่น ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง แม่บ้าน รปภ. พนักงานส่งเอกสาร เป็นต้น หมายเหตุ (๑) กรณีที่เป็นการว่าจ้างให้อยู่ประจำสำนักงานจะต้องทำการประเมินอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง (๒) กรณีที่เป็นการว่าจ้างไม่อยู่ประจำสำนักงาน จะต้องทำการประเมินทุกครั้งเมื่อเข้ามา ปฏิบัติงานในสำนักงาน |
๑๑.รายละเอียดและข้อปฏิบัติสำหรับ เจ้าหน้าทีตำรวจมหาวิทยาลัยรังสิต | |
๖.๒.๓ ร้อยละของการเลือกใช้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (นอกสำนักงาน) ได้แก่ โรงแรม สถานที่จัดงาน หรืออื่นๆที่ได้มีการขึ้นทะเบียนการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หมายเหตุ: (๑) สถานที่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น ISO๑๔๐๐๑ Green Hotel ใบไม้เขียว ฉลากเขียว Green Office หรือ Green Building เป็นต้น และมีการจัดการประชุมที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน และลดการก่อให้เกิดมลพิษ (๒) ในกรณีที่ไม่มีสถานที่จัดประชุมที่ได้รับการรับรองฯ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงสำนักงาน จะต้องเลือกสถานที่ที่ใช้เวลาเดินทางน้อยที่สุด และจัดประชุมในรูปแบบ Green Meeting (ตามความเหมาะสมและเป็นไปได้) โดยจะต้องแสดงหลักฐานการคัดเลือกสถานที่เหล่านั้น |
๑๒.ข้อปฏิบัติเรื่องการประชุมและการจัดนิทรรศการ ๑๓.ข้อปฏิบัติการเดินทางไปประชุมภายนอกของบุคลากรสำนักหอสมุด ๑๔.รายชื่อโรงแรมที่ได้รับคำรับรองการเป็นบริการที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม |