หมวดที่ 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย



        สภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและที่เป็นนามธรรม สภาพ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะกดดัน ซึ่งมีผลต่อผู้ปฏิบัติงานในขณะที่ทำงาน และการทำงานนั้นต้องไม่มีอันตราย ไม่อยู่ในสภาพที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือไม่ มีเชื้อโรค สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดการสภาพแวดล้อมในสำนักหอสมุดโดยคำนึงถึงเรื่อง อากาศ แสง เสียง และความน่าอยู่ เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีต่อทั้งผู้ใช้และผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงการเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉินต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น

หมวด / ตัวชี้วัด หลักฐานประกอบ
หมวดที่ ๕ สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย
๕.๑ อากาศในสำนักงาน
๕.๑.๑ การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน
          ๑. มีแผนการดูแลรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร
(Printer) เครื่องฟอกอากาศ ห้อง พื้นห้อง เพดาน ม่าน มูลี่ พรมปูพื้นห้อง
อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)

          ๒. มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตามแผนการดูแลรักษา

          ๓. มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนด

          ๔. จะต้องมีการควบคุมมลพิษทางอากาศอย่างครบถ้วน ดังนี้
            -การดูแลรักษาในข้อ (๑)
            -การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน
            -การปรับปรุง ก่อสร้างสำนักงาน (ถ้ามี)
            -การป้องกันและกำจัดแมลงที่จะสร้างมลพิษอากาศภายในสำนักงาน (ถ้ามี)
(สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือภาพถ่ายเป็นหลักฐานประกอบ)
หมายเหตุ กรณีข้อ (๔) ต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออย่างหลาย
ตามความเหมาะสมของแหล่งกำเนิดมลพิษ ดังนี้
            -มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ
เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย หรือ
            -มีพื้นที่ทำงานสำรอง หรือ

            -มีมาตรการลดการสัมผัสมลพิษทางอากาศอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชาการ
แก่พนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น กำหนดให้ปรับปรุงวันหยุด ควบคุมการปฏิบัติงานของ
ผู้รับเหมาก่อนสร้าง เป็นต้น หรือ

            -มีที่กั้นเพื่อกันมลพิษทางอากาศกระทบกับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง

  ๑. แผนการดูแล บำรุงรักษาแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ

  ๒. ตารางการปฏิบัติงานแม่บ้านสำนักหอสมุดและผลการบันทึก

  ๓. ภาพการทำความสะอาด

  ๔. แบบบันทึกการฉีดปลวกของสำนักงานอาคารและสิ่งแวดล้อม

  ๕. ภาพที่กั้นสำหรับจุดจอดรถมอเตอร์ไซค์/ป้ายรณรงค์ดับเครื่องเมื่อจอด
๕.๑.๒ มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสม
และปฏิบัติตามที่กำหนด
          ๑. มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่

          ๒. มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

          ๓. มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่

          ๔. เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชน
ที่อยู่บริเวณข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า – ออกของสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพ
ของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น

          ๕. ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่

  ๖. ภาพป้ายรณรงค์การไม่สูบบุหรี่

  ๗. ภาพการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

  ๘. ภาพพื้นที่สูบบุหรี่และการติดสัญลักษณ์

๕.๑.๓ การจัดการมลพิษอากาศจากภายนอกสำนักงานที่ส่งผลต่อสำนักงาน
          ๑. กำหนดมาตรการรอบรับเพื่อจัดการมลพิษทางอากาศที่มาจากภายนอกสำนักงาน
          ๒. ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(๑) ถ้าพบว่ามีมลพิษทางอากาศ
ที่มาจากภายนอกสำนักงาน
 
๕.๒ แสงในสำนักงาน  
๕.๒.๑ มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสง
ที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด

๑. มีการตรวจวัดความเข้มแสงประจำปี พร้อมแสดงหลักฐานผลการตรวจวัดแสง
เฉพาะจุดทำงานแลพื้นที่ทำงาน

          ๒. เครื่องวัดแสงจะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)

          ๓. ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด

          ๔. ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มแสงจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

  ๙. หลักฐานผลการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างและภาพการวัดแสง

  ๑๐. ใบแสดงหลักฐานรับรองเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจวัดแสง

  ๑๑. ภาพเครื่องวัดแสงและหลักฐานใบรับรอง

  
๑๒. บันทึกการปรับปรุงเรื่องความเข้มของแสงสว่างในจุดปฏิบัติงานและ
ให้บริการสำนักหอสมุด
๕.๓ เสียง  
๕.๓.๑ การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในสำนักงาน
          ๑. กำหนดมาตรการรอบรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน

          ๒. ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(๑) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจาก
ภายในสำนักงาน

 
๕.๓.๒ การจัดการเสียงดังจากภายนอกที่ส่งผลต่อสำนักงาน
๑. กำหนดมาตรการรอบรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน

๒. ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(๑) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน

 
๕.๔ ความน่าอยู่  
๕.๔.๑ มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของสำนักงานโดยจะต้องดำเนินการดังนี้
          ๑. จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร โดยจะต้องกำหนดพื้นที่
ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวม และพื้นที่
ทำงาน เป็นต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรืออื่นๆที่เหมาะสมเพื่อบ่งชี้

          ๒. มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่อย่างเหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะ
และพื้นที่ทั่วไป

          ๓. มีการกำหนดเวลาที่แน่นอนในการดูแลรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ทั้งพื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ทั่วไป

          ๔. การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมี
การปฏิบัติจริงตามแผนงาน

  ๑๓. แผนผังการจัดพื้นที่สำนักงานสีเขียว

  ๑๔. โครงการพัฒนาพื้นที่สีเขียว

  ๑๕. รายงานสรุปผลการดำเนินกิจกรรม 7 ส ปี 2561

  ๑๖. พื้นที่/ผู้รับผิดชอบ และมาตรฐานกลาง 7ส

  ๑๗.ตารางทำความสะอาด/ รดน้ำต้นไม้

  ๑๘. ภาพการดูแลพื้นที่สีเขียวและกิจกรรม Big Cleaning

  ๑๙. ภาพพื้นที่สีเขียวและมุมสวนหย่อม

๕.๔.๒ ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด   ๒๐. พื้นที่และแผนผังสำนักหอสมุด

  ๒๑. พื้นที่และผู้รับผิดชอบตามเอกสาร 7 ส

๕.๔.๓ ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ
พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น
  ๒๒. แผนดำเนินกิจกรรม 7 ส /แผนการ ดูแลพืชและต้นไม้บริเวณพื้นที่สีเขียว

  ๒๓. ตารางทำความสะอาด/ รดน้ำต้นไม
๕.๔.๔ มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด
          ๑. มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคในสำนักงานอย่างเหมาะสม
ได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ และอื่นๆ

          ๒. มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรคอย่างน้อยที่สุดสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง

          ๓. มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด (เฉพาะตอนกลางวัน)

          ๔. มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค

หมายเหตุ การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค สำนักงานสามารถควบคุมและจัดการได้เอง
หรือว่าจ้างหน่วยงานเฉพาะมาดำเนินการแทน
  ๒๔. แผนควบคุมและแนวทางป้องกันพาหะนำโรค

  ๒๕. บันทึกข้อมูลการพบร่องรอยสัตว์

  ๒๖. เอกสารบันทึกการแจ้งให้เจ้าหน้าที่มาดำเนินการ
๕.๕ การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน  
๕.๕.๑ การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟตามแผนที่กำหนด
          ๑. มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ

          ๒. จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้นจะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๔๐
ของพนักงานทั้งหมด

          ๓. พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง

          ๔. มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน
เช่น ใบรับรองการอบรม ภาพถ่าย เป็นต้น

          ๕. มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน
เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น

          ๖. มีการจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน

          ๗. มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟ ไปยังจุดรวมพล
พร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน

          ๘. มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
  ๒๗. คู่มือป้องกันและระงับอัคคีภัย ปี 2561

  ๒๘. โครงการป้องกันอัคคีภัยและอพยพหนีไฟ

  ๒๙.หลักฐานการเข้าร่วมอบรมการอพยพหนีไฟ

  ๓๐. ภาพจุดรวมพล

  ๓๑. ภาพแผนผังทางหนีไฟ/ เส้นทาง ธงนำและผู้นำหนีไฟ
และป้ายทางออก ฉุกเฉิน
และป้ายทางออกฉุกเฉิน


๕.๕.๒ มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละของพนักงาน
ที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย ๔ คน)
  ๓๒. แผนป้องกันภัยพิบัติและภาวะฉุกเฉิน

  ๓๓. หมายเลขโทรศัพท์กรณีฉุกเฉิน
๕.๕.๓ ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและ
ป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และร้อยละของพนักงานทราบ
วิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ดังกล่าว (สุ่มสอบถามอย่างน้อย ๔ คน)
          ๑. มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
            ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน (กำหนดระยะห่าง อย่างน้อย ๒๐ เมตร/ถัง
ตามกฎหมาย ติดตั้งสูงจากพื้นไม่เกิน ๑๕๐ เซนติเมตรนับจากดคันบีบ
และถ้าเป็นวางกับพื้นที่จะต้องมีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง

            ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้ามี)

            สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose Station) ถ้ามี)

          ๒. ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อมใช้งาน
            สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่มากกว่า ๓๐๐ ตารางเมตรหรือ
อาคารสูงเกิน ๒ ชั้นขึ้นไป)

            ติดตั้งตัวดักจับควัน(smoke detector)หรือความร้อน
(heat detector)

          ๓. มีการตรวจสอบข้อ (๑)-(๒) และหากพบว่าชำรุดจะต้อง
ดำเนินการแจ้งซ่อมและแก้ไข

          ๔. พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและ
สัญญาณแจ้งเตือนอย่างน้อยร้อยละ ๗๕ จากที่สุ่มสอบถาม
  ๓๔. รายงานการตรวจสอบถังดับเพลิง

  ๓๕. รายงานผลการตรวจสอบสัญญาณเตือนภัยและ
อุปกรณ์ตรวจจับควัน


  ๓๖. ราภาพถังดับเพลิงและรายการตรวจสอบถังดับเพลิง/
สัญญาณเตือนภัย อุปกรณ์ ตรวจจับควัน และการตรวจวัสดุอุปกรณ์
จับควัน


  ๓๗. รายงานผลการดำเนินงานคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสีเขียว